บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2016

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
20. ชื่อศิลปิน: อภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ ชื่อผลงาน: ดอยเสมอดาว น่าน ขนาด: 80×100 cm. เทคนิค: สีน้ำมันบนผ้าใบ ปี:2558 ผลงานในนิทรรศการ Visual Arts ASEAN  ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน กรุงเทพฯ งานจิตรกรรมชิ้นนี้ศิลปินใช้สี สร้างความกลมกลืน ของภาพได้อย่างเหมาะสม 1.เห็นแล้วสบายและสดชื่น 2.ประทับใจแสงแดดกับเนินเขาที่กลมกลืนกันในภาพ งานจิตรกรรมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้วาดสื่อถึงดอยเสมอดาวที่สวยงาม มีการใช้สีที่หลากหลายในการเลียนแบบได้คล้ายของจริง มองแล้วรู้สึกเหมือนอยู่บนดอยจริงๆ

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
19. ชื่อศิลปิน: อภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ ชื่อผลงาน: เสาดินนาน้อย น่าน ขนาด:60×80 cm. เทคนิค: สีน้ำมันบนผ้าใบ ปี:2558 ผลงานสร้างสรรค์ในVisual For Asean งานจิตรกรรมชิ้นนี้ศิลปินสร้างความกลมกลืนของภาพ โดยใช้สีได้อย่างเหมาะสม 1.เห็นแล้วรับรู้ถึงแสงแดด 2.ประทับใจเนินเขาและท้องฟ้าที่สอดคล้องกันในภาพ งานจิตรกรรมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้วาดใช้สีในการสื่อถึงภูน้ำน้อย การใช้รูปร่างในภาพมีความเหมาะสมมาก มองแล้วรู้สึกเหมือนได้เห็นสถานที่จริง

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
18. ชื่อศิลปิน: อภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ ชื่อผลงาน: ภูชี้ฟ้า ขนาด: 15×20 cm. เทคนิค: สีน้ำมันบนผ้าลินิน ปี: 2558 งานจิตรกรรมชิ้นนี้ศิลปินใช้แสงในการสร้างความกลมกลืนของภาพเป็นอันหนึ่งเดียวกัน สื่อให้รับรู้ถึงความสุนทรียภาพของศิลปิน แสงที่ใช้ทำให้รู้สึกถึงตะวันขึ้นในยามเช้า  1.เห็นแล้วรู้สึกถึงไออุ่น 2.ประทับเนินเขากับแสงอาทิตย์ที่กลมกลืนกันในภาพ งานจิตรกรรมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้วาดพยายามใช้สีสื่อถึงภูชี้ฟ้า มีการสร้างแสงเงาของพระอาทิตย์ได้อย่างสวยงาม มองแล้วรู้สึกถึงแสงอรุณจากดวงอาทิตย์

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
17. ชื่อศิลปิน: อภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ ชื่อผลงาน: ลุมพินีวัน เนปาล(สถานที่ประสูตร) ขนาด: 150×200 cm. เทคนิค: สีน้ำมันบนผ้าลินิน ปี:2558 งานจิตรกรรมชิ้นนี้ศิลปินสร้างความกลมกลืนโดยใช้สี มุ่งเน้นไปที่สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า 1.เห็นแล้วสงบ 2.ประทับใจเงาของอาคารในน้ำที่สวยงาม งานจิตรกรรมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้วาดใช้สีในการสื่อถึงสถานที่ประสูตรของพระพุทธเจ้า การใช้แสงเงาเพื่อทำเงาใต้น้ำมีความเสมือนจริงมาก มองแล้วรู้สึกเหมือนมองสถานที่จริง

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
16. ชื่อศิลปิน: อภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ ชื่อผลงาน: สารนาถ อินเดีย(สถานที่แสดงปฐมเทศนา) ขนาด: 150×200 cm. เทคนิค: สีน้ำมันบนผ้าลินิน ปี:2558 ผลงานนิทรรศการ"9 ศิลปินแผ่นดินล้านนา? งานจิตรกรรมชิ้นนี้ศิลปินสร้างจุดเด่นของภาพ โดยมีการใช้แสงเงาเพื่อเน้นจุดเด่นของภาพเพิ่มขึ้น 1.เห็นแล้วนึกถึงธรรมของพระพุทธเจ้า 2.ประทับใจสารนาถที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม งานจิตรกรรมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้วาดสื่อถึงสถานที่แสดงปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้า แต่การใช้รูปทรงเลียนแบบสถานที่จริงดูแล้วไม่ค่อยมีมิติ มองแล้วรู้สึกเหมือนหลักธรรมดา

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
15. ชื่อศิลปิน: ศาสตราจารย์วิชัย สิทธิรัตน์ ชื่อผลงาน: ดวงตาเห็นธรรม ปี:2550 วัสดุ: สำริด ขนาด: 56.5×62×23.5 ซม. งานประติมากรรมชิ้นนี้ศิลปินใช้ที่ว่างในการสร้างจังหวะได้อย่างเหมาะสม 1.เห็นแล้วมองเห็นธรรม 2.ประทับใจรูตรงกลางที่เหมือนดวงตา งานประติมากรรมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้จัดทำใช้รูปทรงในการสื่อถึงดวงตา ที่ว่างที่ใช้มีความเหมาะสม เห็นแล้วรู้สึกถึงดวงตาที่เบิกบาน

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
14. ชื่อศิลปิน: อภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ ชื่อผลงาน: กุสินารา อินเดีย(สถานที่ปรินิพาน) ขนาด: 150×200 cm. เทคนิค : สีน้ำมันบนผ้าลินิน ปี: 2558 งานจิตรกรรมชิ้นนี้ศิลปินเน้นการใช้สีในการความกลมกลืนของภาพ ได้เหมาะสม 1.เห็นแล้วนึกถึงพระพุทธเจ้า 2.ประทับใจกุสินาราที่สวยงามในภาพ งานจิตรกรรมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้วาดใช้สีในการสื่อถึงสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า รูปทรงสัดส่วนที่ใช้มีความเหมาะสมมาก มองแล้วรู้สึกเหมือนได้เห็นสถานที่จริง

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
13. ชื่อศิลปิน: อภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ ชื่อผลงาน: โทนเชียงราย ที่ขั้วศิลปะ ขนาด: 60×80 cm. เทคนิค: สีอะคริลิคไทยโทนบนผ้าใบ ปี:2558 ผลงานในนิทรรศการไทยโทนเชียงราย งานจิตรกรรมชิ้นนี้ศิลปินสร้างความกลมกลืนโดยเน้นการใช้สี ได้อย่างเป็นอันหนึ่งเดียวกัน 1.เห็นแล้วรู้สึกสดชื่น 2.ประทับใจสวนดอกไม้และแม่น้ำที่กลมกลืนกันในภาพ งานจิตรกรรมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้วาดสื่อถึงสวนดอกไม้ที่สวยงามในเชียงราย มีการใช้สีได้อย่างอย่างสวยงาม เมื่อมองแล้วรู้สึกสบายตา

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
12. ชื่อศิลปิน: อภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ ชื่อผลงาน: "แป๊ะฮวยอิ๊ว" สุนัขทรงเลี้ยง ขนาด: 65×75 cm. เทคนิค: สีน้ำมันบนผ้าลินิน 11 ก.พ.2559 ณ พระตำหนักดอยตุง งานจิตรกรรมชิ้นนี้ศิลปินเน้นการใช้สีในการสร้างจุดเด่นของภาพโดยมุ่งเน้นไปที่สุนัขทรงเลี้ยง  1.เห็นแล้วอยากกอดสุนัข 2.ประทับใจสุนัขทรงเลี้ยงที่สวยงาม งานจิตรกรรมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้วาดพยายามใช้สีสื่อถึงสุนัขทรงเลี้ยง การสร้างจุดเด่นของภาพนี้มีความสวยงาม เมื่อมองแล้วรู้สึกถึงความพอดีในภาพ ไม่รกจนเกินไป

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
11. ชื่อศิลปิน :อภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ ชื่อผลงาน: บ้านดำ นางเล ขนาด: 20×20 cm. เทคนิค: สีน้ำมันบนผ้าลินิน ปี2559 ผลงานนิทรรศการแรงบันดาลใจจากอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี เนื่องในวันถวัลย์ ดัชนี 27 กันยายน งานจิตรกรรมชิ้นนี้ศิลปินสร้างจังหวะในภาพโดยใช้ระยะระหว่างก้อนหินให้สมดุลกัน ทำให้ภาพไม่โอนเอนไปทางใดทางหนึ่ง 1.เห็นแล้วรู้สึกสงบ 2.ประทับใจก้อนหินและบ้านที่สอดคล้องกันในภาพ งานจิตรกรรมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้วาดใช้จังหวะสื่อถึงก้อนหินที่จัดเรียงอย่างสวยงาม การใช้ระยะห่างของก้อนหินมีความสมดุลมาก มองแล้วรู้สึกสบายตา

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
10. ชื่อศิลปิน: อภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ ชื่อผลงาน: เขื่อนภูมิพล เทคนิค: สีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด: 120×140 cm. ปี:2550 งานจิตรกรรมชิ้นนี้ศิลปินสร้างความกลมกลืนโดยใช้ สี  ทำให้ทั้งภาพดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 1.เห็นแล้วคิดถึงพ่อ 2.ประทับใจพ่อและพระราชกรณียกิจที่สอดคล้องกันในภาพ งานจิตรกรรมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้วาดใช่สีสื่อถึงเขื่อนในรัชกาลที่9 มีการใช้รูปทรงสัดส่วนเลียนแบบได้คล้ายมาก เมื่อมองแล้วรู้สึกเหมือนเห็นพระมหากษัตริย์ตัวจริง

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
9. ชื่อศิลปิน: อภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ ชื่อผลงาน: ลมเหนือ ขนาด: 154×295 cm. ปี2553 งานจิตรกรรมชิ้นนี้ศิลปินมีการใช้แสงเงาสร้างความกลมกลืนของภาพได้อย่างเหมะสม 1.เห็นแล้วรู้สึกอบอุ่น 2.ประทับใจดอกหญ้าและแสงที่กลมกลืนกันมากในภาพ งานจิตรกรรมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้วาดใช้แสงในการสื่อถึงลม มีการใช้เงาอย่างเหมาะสม มองแล้วรู้สึกถึงลมเหนือในยามเช้าตรู่

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
8. ชื่อศิลปิน: อภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ ชื่อผลงาน: สายลม...จากขุนเขา ขนาด: 190×420 cm. เทคนิค: สีน้ำมันบนผ้าใบ ปี: 2547 นิทรรศการ สายลม...จากขุนเขา งานจิตรกรรมชิ้นนี้ศิลปินใช้สี สร้างความกลมกลืนกันทั้งต้นหญ้าและภูเขาทำให้ทั้งภาพเป็นหนึ่งอันเดียวกัน 1.เห็นแล้วอยากไปรับลมบนเขา 2.ประทับใจดอกหญ้าที่อ่อนไหวและไม่แข็งเกินไปในภาพ งานจิตรกรรมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้จัดทำใช้สีสื่อถึงสายลม ต้นหญ้าที่ได้วาดมีความอ่อนไหว ไม่แข็งจนเกินไป มองแล้วรู้สึกถึงลมที่กำลังพัดไปมาบนภูเขา

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
7. ชื่อศิลปิน : อภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ ชื่อผลงาน: Lavender Provence, France2 ขนาด: 150×350 cm. เทคนิค : สีน้ำมันบนผ้าลินิน ปี: 2558 งานจิตรกรรมชิ้นนี้ศิลปินสร้างความกลมกลืนด้วยสี ได้อย่างเหมาะสม 1.เห็นแล้วสบายตา 2.ประทับใจดอกลาเวนเดอร์และต้นไม้ที่กลมกลืนกันในภาพ งานจิตรกรรมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้วาดใช้สีในการสื่อให้เห็นดอกลาเวนเดอร์ แต่จากต้นไม้ที่อยู่ทั้งสองข้างดูเบี้ยวๆ มองแล้วรู้สึกไม่สมดุลเท่าไหร่

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
6. ชื่อศิลปิน: ช่วง มูลพินิจ ชื่อผลงาน: Horse Cliff 2013| ผ้าหัวม้า 2556 Oil On Canvas| 135×95 cm งานจิตรกรรมชิ้นนี้ศิลปินสร้างความกลมกลืนของภาพโดยใช้ สี ได้อย่างเหมาะสม 1.เห็นแล้วรู้สึกไม่โดดเดี่ยว 2.ประทับใจม้าและภูเขาที่สอดคล้องกันในภาพ งานจิตรกรรมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้วาดใช้สีในการสื่อให้เห็นถึงความไม่โดดเดี่ยว รูปร่างที่ใช้มีความกลมกลืนกันอย่างเหมาะสม มองแล้วทำให้นึกถึงม้าที่กำลังวิ่งอยู่ในภูเขา

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
5. ชื่อศิลปิน:ศาสตราจารย์วิชัย สิทธิรัตน์ ชื่อผลงาน:บูชาครู เทคนิค: บรอนซ์ สูง: 240 ซม. ปี: 2550 หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร งานประติมากรรมชื้นนี้ศิลปินสร้างความกลมกลืนโดยใช้รูปทรงที่เป็นไปตามธรรมชาติ 1.เห็นแล้วอยากขอบคุณผู้ที่มีพระคุณ 2.ประทับใจการหล่อมือที่กำลังประนมได้อย่างสวยงาม งานประติมากรรมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้จัดทำสื่อถึงการละลึกบุญคุณของผู้มีพระคุณ มีการใช้รูปทรงที่เป็นไปตามธรรมชาติได้อย่างสวยงาม มองแล้วรู้สึกถึงผู้ที่มีพระคุณแก่เรา

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
4 ศิลปิน       ลูกปลิว จันทร์พุดซา . ชื่อผลงาน "ดังชิงช้าโยกโล้ไปมา" เทคนิค      หล่อพลาสเตอร์ ขนาด        ๖๕ X ๑๑๐ X ๑๔๕ เซนติเมตร รางวัลที่ ๓  ศิลปกรรมอมตะ อาร์ต อวอร์ด  ครั้งที่ ๑/๒๕๔๗ "ความรักความผูกพันอันบริสุทธิ์ที่แม่มอบให้ลูก เป็นสัมผัสอันดีงามที่เกิดจากหัวใจและ เลือดเนื้อ ไออุ่นกายถ่ายทอดสู่หัวใจอันบริสุทธิ์ที่เกิดใหม่อย่างงดงามสืบต่อไป " งานประติมากรรมชิ้นนี้ศิลปินสร้างความสมดุลของงานโดยใช้น้ำหนักที่เท่ากัน ไม่โอนเอนไปทางใดทางหนึ่ง จึงทำให้ไม่ล้ม และยังใช้รูปทรง3มิติ จึงทำให้ประติมากรรมชิ้นนี้มีความสมดุลกัน 1.เห็นแล้วคิดถึงแม่ 2.ประทับใจแม่กำลังอุ้มลูกที่สามารถสื่อถึงอารมณ์ได้ดี งานประติมากรรมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้จัดทำใช้รูปทรง3มิติในการสื่อถึงความรักของแม่ที่มีต่อลูก รูปทรงที่ใช้มีความเหมาะสมและสวยงาม มองแล้วรู้สึกถึงความอบอุ่นของอ้อมกอดแม่

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
3. ชื่อศิลปิน: ศาสตราจารย์วิชัย สิทธิรัตน์ ชื่อผลงาน: จิตสมาธิ เทคนิค: สื่อผสม (ปูนปลาสเตอร์,ไฟเบอร์กลาส,สีทอง,ขี้ผึ้ง,หลอดไฟ) ปี: 2552 พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอศิลป งานสื่อผสมชิ้นนี้ศิลปินเน้นการใช้พื้นที่ในการจัดสื่อได้เหมาะสม 1.เห็นแล้วเลื่อมใสศรัทธา 2. ประทับใจพระพุทธรูปที่จัดวางได้อย่างเป็นระเบียบ งานสื่อผสมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้จัดทำใช้พื้นที่ว่างเพื่อสื่อให้เห็นถึงความมีสติ การจัดเรียงของพระพุทธรูปที่เป็นระเบียบอย่างสวยงามทำให้รู้สึกถึงความมีสมาธิ และมีจิตมุ่งมั่น

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
2. ชื่อศิลปิน: ศาสตราจารย์วิชัย สิทธิรัตน์ ชื่อผลงาน: ผู้มีสติ เทคนิค : สื่อผสม (ปูนปลาสเตอร์,ไฟเบอร์กลาส,ทีวี,วิดีโอ) ปี: 2552 พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอศิลป งานสื่อผสมชิ้นนี้ศิลปินเน้นการใช้จังหวะของพื้นที่ว่างได้อย่างเหมาะสม 1.เห็นแล้วมีสมาธิและจิตสงบ 2.ประทับใจพระพุทธรูปและจอทีวีที่สอดคล้องกันอย่างเหมาะสม งานสื่อผสมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้จัดทำพยายามใช้จังหวะระหว่างพระพุทธรูปกับจอทีวีสื่อให้เห็นถึงความมีสติ และมีการใช้พื้นที่ว่างได้อย่างเหมาะสม ทำให้รู้สึกถึงความไม่วอกแวกมีสติ

นางสาวแพรวตา เนียมเพ็ชร์ 10510 ร.ร.สามโคก

รูปภาพ
1. ชื่อศิลปิน: วิชัย สิทธิรัตน์ ชื่อผลงาน:Stop ปี : 2545 ปี่ที่ขยาย : 2547 เทคนิค : บรอนซ์ ขนาด: 400 ซม. ต้นฉบับชิ้นที่ : Masterpiece แนวความคิด: เมื่อจิตเข้าสู่สภาวะแห่งความเมตตาธรรม กายก็หยุดจากการฆ่า หยุดจากการเบียดเบียนกัน หยุดจากการทำร้ายจิตใจคนอื่น หยุดจากการใช้วาจาซึ่งนำมาซึ่งความเจ็บปวด หยุดจากการเสพสิ่งต่าง ๆ ตามอารมณ์จนขาดสติสัมปชัญญะ งานประติมากรรมชิ้นนี้ศิลปินสร้างความสมดุลของงานโดยใช้น้ำหนักที่เท่ากัน ไม่โอนเอนไปทางใดทางหนึ่ง จึงทำให้ไม่ล้ม และยังใช้รูปทรงแบบเรขาคณิต ซึ่งเป็นรูปทรงที่มีมาตรฐานแน่นอน จึงทำให้ประติมากรรมชิ้นนี้มีความสมดุลกันทั้งสองข้าง 1.เห็นแล้วทำให้รู้สึกหยุดจากการทำบาป 2.ประทับใจฝ่ามือที่สื่อถึงอารมณ์ได้ดี งานประติมากรรมชิ้นนี้จากการตั้งชื่อผู้ทำได้ล่อฝ่ามือเพื่อสื่อให้หยุดละเว้นจากการทำบาป รูปทรงที่ทำออกมามีความกลมกลืนกันอย่างเหมาะสม เห็นแล้วรู้สึกถึงการหยุดทำสิ่งที่ไม่ดี